
Hi
Welcome to Joey's website!
1. มัทนะพาธา
2. บทความโคลนติดล้อ
3. ลิลิตตะเลงพ่าย
มัทนะพาธา
วรรณคดีเรื่องนี้เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์โปรดละครพูดตามแบบตะวันตกมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดไว้หลายเรื่อง แต่ส่วนใหญ่เป็นร้อยแก้ว มีเพียงมัทนะพาธาเรื่องเดียวที่ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยกรอง เป็นบทละครพูดคำฉันท์
เนื้อเรื่องของมัทนะพาธา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพบุตรบนสวรรค์ชื่อสุเทษณ์เทพบุตร ท่านหลงรักนางฟ้าชื่อมัทนา แต่นางฟ้ามัทนามิได้รักสุเทษณ์ตอบ สุเทษณ์โกรธจึงส่งนางไปเกิดเป็นดอกกุหลาบในโลกมนษย์ เมื่ออยู่บนดินแดนมนุษย์นางจะเป็นคนได้หากนางมีความรัก และได้ก็พบรักกับท้าวชัยเสนและกลายเป็นคน แต่นางจันทีมเหสีท้าวชัยเสนได้ใส่ร้ายนางว่านางมีชู้ ทหารได้พานางหนีการถูกประหารชีวิตเข้าไปอยู่ในป่า มัทนาขอร้องให้สุเทษณ์พานางกลับสวรรค์ สุเทษณ์มีข้อแม้ให้มัทนารักตน มัทนาปฏิเสธ สุเทษณ์จึงสาปให้นางเป็นดอกกุหลาบ เมื่อท้าวชัยเสนรทรงทราบว่ามัทนาโดนใส่ร้าย จึงรีบเสด็จมารับมัทนากลับวัง แต่เมื่อมาถึงก็พบเพียงดอกกุหลาบ และพระองค์ก็นำกุหลาบไปปลูก
หลังจากนักเรียนได้ศึกษาเรื่องนี้แล้ว นักเรียนได้แบ่งกันทำเรื่องย่อมัทนะพาธาและใส่ในยูทูป ผลงานชิ้นนี้เป็นความร่วมมือและความสามัคคีของนักเรียนเป็นอย่างดี
คำถาม
ถ้านักเรียนเป็นสุเทษณ์และนางมัทนาไม่รับรักนักเรียนเลือกที่จะสาปมัทนาอย่างที่สุเทษณ์กระทำหรือไม่ เรื่องมีอยู่ว่ากล่าวถึง “สุเทษณ์” เทพบุตรบนสวรรค์เป็นทุกข์ด้วยหลงรักนางฟ้า “มัทนา” แต่นางไม่รักตอบจึงขอให้วิทยาธรชื่อ “มายาวิน” ใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางก็เหม่อลอยไม่มีสติเพราะตกอยู่ในฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์ไม่ต้องการได้นางด้วยวิธีนั้นจึงให้มายาวินคลายเวทมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้ว นางมัทนาก็ปฏิเสธสุเทษณ์ สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์ มัทนาขอเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอมเพื่อให้มีประโยชน์บ้าง สุเทษณ์จึงสาปให้นางมัทนาไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ ไม้งามซึ่งแต่เดิมมีเพียงบนสวรรค์เท่านั้น เป็นผมผมจะไม่สาบมัทนะให้เป็นดอกไม้หรือให้ไปเกิดในโลกมนุษย์เพราะว่าการกระทำนี้เกิดขึ้นเพราะอารมณ์ชั่วครู่และเราอาจตัดสินใจไปทางที่ไม่ถูก
บทความโคลนติดล้อ
บทความเรื่องโคลนติดล้อเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทย ในปีพุทธศักราช 2458 โดยใช้พระนามแฝงว่า อัศวพาหุ และบทความเรื่องนีทรงพระราชนิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษในชื่อว่า Clogs on Our Wheels บทความเรื่องโคลนติดล้อเสนอความคิดเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าช้าที่ควร
หลังจากนักเรียนได้ศึกษาเรื่องนี้ นักรียนได้เปรีบเทียบปัญหาและอุปสรรคที่ถ่วงความก้าวหน้าของประเทศชาติเมื่อร้อยปีที่แล้วกับในปัจจุบัน และวิเคราะห์วิจารณ์ว่าปัญหาที่ขัดขวางความก้าวหน้าเมื่อร้อยปีที่แล้ว ได้รับการแก้ไขหรือมีอะไรเปลี่ยนแปลงจากเดิมบ้างหรือไม่
คำถาม
ให้ยกตัวอย่างสิ่งที่ขัดขวางความก้าวหน้าของประเทศชาติที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ 100 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน และนักเรียนคิดว่ามีวิธีแก้ได้อย่างไร
-
ไม่รับคนที่อายูน้อยกว่า-เช่นตอนเลือกตั้งประชาชนมักจะไม่เห็นด้วยกับผู้คนที่มีอายุน้อยกว่า
-
โยนความผิดให้คนอื่น-เช่นทำกระถางต้นไม้พังแต่โทษว่าคนวางวางไม่ถูกที่ทั้งๆที่ตนเองเดินชนเอง
-
ชอบการพนัน-การพนันนั้นเป็นปัจจัยที่ทำให้คนไทยจนหรืไม่มีงานเพราะวันๆมัวแต่มกมุ่นอยู่กับสิ่งนั้นและอาจเสียเงินจนหมดตัว
-
ไม่ตรงต่อเวลา-เป็นนิสัยของคนไทยอยู่แล้ว เมื่อเปรียบกับคนญี่ป่นก็จะเห็นว่าพวกเขาเคร่งครัดกับเวลามาก เวลากลุ่มเพื่ิอนนักกันก็จะตรงต่อเวลากันมากไม่เหมือนคนไทยที่อาจช้าเกินชั่วโมง
ลิลิตตะเลงพ่าย
วรรณคดีไทยเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีที่แต่งโดยกรมพระปรมานุชิตชิโนรส หรือ พระองค์เจ้าวาสุกรี พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วรรณดคีไทยเรื่องนี้เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาการทำสงคราในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงทราบว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต กรุงศรีอยุธยาอาจมีการแย่งชิงราชบัลลังก์กัน จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาผู้เป็นโอรสยกทัพมารุกรานไทย เมื่อพระนเรศวรทรงทราบว่ามีทัพพม่า พระองค์และพระเอกาทศรถจึงจัดทัพไปรับศึกนอกพระนคร ช้างทรงของพระนเรศวรและช้างทรงของพระเอกาทศรถ วิ่งเข้าไปอยู่ในวงล้อมทัพพม่า พระนเรศวรทรงเชิญพระมหาอุปราชาให้ออกมาทำยุทธหัตถี พระนเรศวรกับพระมหาอุปราชาทำยุทธหัตถีกัน พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์บนคอช้าง จากวรรณคดีเรื่องนี้นักเรียนได้ศึกษาวรรณคดีไทยอันทรงคุณค่าพร้อมทั้งได้ศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทยในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
คำถาม
จงเขียนผังความคิดความสัมพันธ์ในราชวงศ์ไทยและราชวงศ์พม่าในสมัยสมเด็จพระนเรศวร
ต่างสองฝั่งมีความสัมพันธ์กันในตอนศุ้รบกัน ฝั่งไทยเป็นฝั่งที่เข็งเกร่งอยู่แล้ว โดยมีพระสมเด็จนเรสวรเป็นผู้นำ ส่วนพม่าได้วงล้อมพระนเรสวรแต่ด้วยความเฉลียวฉลาดของท่านท่านสามรถเอาตัวรอดได้

